Pages

Monday, 26 December 2011

ตำรับยาภาษาจีน,ฮิปบรู,และสันสกฤต (Chinese,Hebrew,Sanskrit Writing)

ไม่เพียงแต่ด้านอียิปต์โดยลำพังเท่านั้นที่มีบันทึกตำรับยาเมื่อประมาณ 2000 กว่าปีก่อน มีเภสัชตำรับของจีนที่ ชื่อว่า 'Pen Tsao' ใช้กันแพร่หลายในยุคจักรพรรดิ์ 'Shen Nung' เภสัชตำรับนี้อธิบายการใชัน้ำมันกระเบา (chaumoograoil) จากต้นกระเบารักษาโรคเรื้อน ตำรา 'Pen Tsao' ก็เหมือนตำราในยุคต่อๆ มาที่เปิดกว้างให้ค้นคว้าหาตัวยาใหม่ๆ มีต้นไม้ยาอื่นเช่น Hemp dogbane ฝิ่น โกฎฐ์น้ำเต้า และ aconite มันเป็นเภสัชตำรับเล่มแรกที่ระบุถึงต้น มั่วอึ้ง (chinese ephredra) ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต, ลดไข้, ขับปัสสาวะ, ลดอาการไอ, ช่วยให้หลอดลมโล่ง สารออกฤทธิ์ของมั่วอึ้งนี้ถูกลืมเลือนไปสิ้น จนถูกค้นพบขึ้นใหม่ ณ ต้นศตวรรษที่ 20 ที่เรารู้จักกันในนาม อีฟรีดรีน (Ephedrine) ตัวยาสำคัญที่ใช้ลดอาการหืดหอบ เนื่องจากอาการแพ้ฝุ่นละออง ไข้ละอองฟางและหวัด
พวกชาวยิวในยุคคัมภีร์ไบเบิลเก่า เป็นที่กล่าวขานถึงมาตรฐานอนามัยความสะอาดของชุมชนแม้แต่พวกประชาชนเขตรอบแหลมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยากจนการใช้พืชต้นไม้ เพื่อประโยชน์ทางยาเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับหนังสือของ Ecclsiasticus หรือ ไซรัส (sirach) ได้กล่าวเสริมว่า "พระองค์(พระเจ้า ) ได้สร้างยาจากปฐพี ผู้รู้แจ้งย่อมค้นพบมัน(รู้ค่าของมัน) มีพืชสมุนไพรหลายชนิดตั้งแต่ต้นจูนิเปอร์(juniper) ถึงแมนเดร็ก (mandrake) จากต้นฝ้าย (cotton) ถึงต้นมัสตราด (mustard) ซึ่งจะให้สารที่ใช้ทางยาในยุคคัมภีร์ไบเบิลเก่า (old testament)”
ในอินเดีย แพทย์พื้นเมืองอินเดียหลายชั่วอายุคนได้ถือคัมภีร์อายุรเวท (Ayurvede ) เป็นคัมภีร์แพทย์ของฮินดูคาดว่าถูกเขียนขึ้นในช่วงแรกศตวรรษ อาจเลยไปถึงยุค ฤษี ฤค (Rig Veda) และบทสวดมนต์ที่มอบให้เทพเจ้าแห่งยาเสพติด "โซม่า" (Soma) ตั้งแต่ได้ค้นพบฤทธิ์ยาเสพติดและฤทธิ์หลอนประสาทจากเห็ดชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Amanita muscaria คัมภีร์ อายุรเวทถูกเขียนบันทึกครั้งแรกเป็นภาษาสันสกฤต ได้ระบุถึงพืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาเช่น ระย่อม (Rauvolfia serpentiana) ต่อมาพบว่ามันมีสารออกฤทธิ์ทางยาที่ชื่อว่า reserpine นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ที่ชื่อว่า' The Charaka Samhita ' ของอินเดียรจนาระบุถึงต้นไม้ยาสมุนไพรถึง 500 กว่าชนิด

No comments:

Post a Comment