ในยุคเรเนอร์ซองนี้ ปรัชญาการแพทย์ที่มีอิทธิพลถึง 100 ปีเป็นของ ทรีโอฟราซุส หรือที่รู้จักกันในนาม พาราเซลอุส (Paracelus) นายแพทย์ชาวสวิสผู้มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วยุโรป สมัยเรเนอร์ซอง ให้หลักการว่า ให้มองพิจารณาธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง พืชไม่เพียงสร้างสิ่งมีประโยชน์แก่มนุษย์เพียงด้านเดียว แต่บรรดาพืชแต่ละชนิดจะแสดงภาพสัญลักษณ์บอกความหมายของการรักษาด้วย ตัวอย่างเช่น ต้นโคมจีน มีวงกลีบเลี้ยงของดอกของมันเป็นรูปเหมือนกระเพาะปัสสาวะ สามารถใช้รักษาโรคทางเดินปัสสาวะได้ พืชที่มีใบเหมือนรูปหัวใจจะใช้รักษาโรคหัวใจ อะไรทำนองนี้ อย่างไรก็ตามไม่เพียงแต่เป็นเจ้าทฤษฎี บ่งบอกสัญญาณเท่านั้น พาราเซลอุส ยังได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งเคมีวิทยาศาสตร์อีกด้วย เขาถือได้ว่าเป็นผู้เก่งกาจที่สุด ในเรื่องเตรียมยาด้วยปฎิกิริยาทางเคมี พาราเซลอุส เป็นนักศึกษาวิชาปรัชญาเคมี (Alchemy) ผู้หนึ่งที่สนับสนุนการใช้ธาตุโลหะเตรียมเป็นยารับประทาน เช่น ปรอท และพวง โชคไม่ดีที่บรรดาแพทย์รุ่นหลังๆ ได้ใช้ธาตุโลหะเหล่านั้นเป็นยารัปประทานตามกันมาโดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัด, ข้อระวังข้อห้ามที่พาราเซลอุสทำการศึกษาและบันทึกเขียนไว้ว่า "ยาพิษทุกอย่างไม่พิษเสมอไปขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้ "และหลักปรัชญาที่ว่า " ถ้ามากจะเป็นยาพิษแต่น้อยพึงรักษา " ดังนั้นจึงถือได้ว่าเขาเป็นผู้หนึ่งในการสนับสนุนหลักการรักษาแบบ Homeopathy ที่ว่าใช้สิ่งที่คุณสมบัติเหมือนกับโรค, อาการคนไข้รักษาคนไข้ ต่อมาอีก 300 ปี นายแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ ซามูมเอล ฮาทนีมานน์ (Samuel Hahnemann) นำหลักการนี้มาใช้อย่างกว้างขวาง หลักการรักษาแบบ Homeopathy เชื่อว่าอาการเจ็บป่วยทั้งหลาย เป็นวิธีหาทางของระบบร่างกายที่จะขจัดรักษาโรคด้วยตัวมันเอง ดังนั้นปริมาณยาที่ทำให้เกิดอาการเดียวกับที่คนไข้เป็นโรคนั้นอยู่ถ้าใช้จำนวนน้อยที่สุดจะกระตุ้นระบบสุขภาพของร่างกายให้ต้านโรคได้
No comments:
Post a Comment